วงมโหรีอีสาน ศรีโคตรบูรณ์ ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน 4 ประเภทได้แก่ เครื่องดีด สี ตี เป่า
โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก ” เกราะ ” ใช้ตีบอกเวลาในสมัยก่อน และ นำไปแขวนคอควาย เวลาเดินทาง หรือเป็นสัญลักษณ์ ให้เสียง ว่าวัว ตัวนั้นเป็นของใคร วง โปงลาง ใช้เรียกเป็นชื่อวง ดนตรีทางภาคอีสาน ว่า วงโปงลาง มีการละเล่นแพร่หลายทางภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเล่นแพร่หลายมาก เพราะเป็นกำเนิด โปงลาง หรือ เกราะลอ มีประวัติโดยย่อ คือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบ “เกราะ” ที่ใช้ตีตามหมู่บ้าน ในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หลากเลื่อม ( ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล ) ใช้เถาวัลย์มัดร้อย เรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูกนก กา ที่มีกินข้าวในไร่ ในนา ต่อมาท้าวพรหมโคตรได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเมือง จังหวัด กาฬสินธุ์และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน คือ เสียง โด เร มี ซอล และ ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องชายนายปานได้รับการถ่ายทอดการตีเกราะลอให้กับศิลปินแห่งชาติผู้พัฒนาโปงลางให้เป็นที่รู้จัก คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี
ในวงประกอบด้วยเครื่องดนตรี ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.โปงลาง เป็นเครื่องตี มีน้ำเสียงสำเนียงที่ไพเราะ เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน
2.แคน แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า “แคน” เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า “แคน” นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้
3.โหวด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะกลมทำด้วยไม้ไผ่ เมื่อเป่าหรือแกว่งด้วยเชือกจะเกิดเสียงดังไพเราะ โหวด เดิมเป็นของเล่นของคนอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือน “ธนู” ต่อมาได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีของวงดนตรีพื้นเมือง ประเภทเครื่องเป่า สามารถเป่าเป็นเพลงที่ไพเราะ
4.ไหซอง เบส เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหปลาร้าที่ไม่ใช้แล้ว ขึงด้วยยางหนังสติ๊กหรือยางอื่นๆ บริเวณปากไห จัดเป็นชุด ชุดละหลายใบ โดยมีขนาดลดหลั่นกัน บรรเลงโดยการดีดด้วยนิ้ว ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบส ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานหรือที่นิยมเรียกว่าวงโปงลาง ปัจจุบันวงโปงลางส่วนใหญ่นิยมใช้พิณเบส แทนการใช้ไหซอง เนื่องจากให้เสียงดังกว่าและสามารถบรรเลงพลิกแพลงได้มากกว่า จึงแทบไม่มีการดีดไหซองเพื่อการบรรเลงจริงๆแล้ว การดีดไหซองในปัจจุบันเป็นเพียงการแสดงลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำ นิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีด เรียกว่า นางไห ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่างๆ
5.พิณอีสาน เป็นเครื่องดนตรีในสกุลเครื่องสายซึ่งประกอบด้วย กะโหลกและคอ มีสายขึงใช้ดีด อาจดีดด้วยมือแผ่นพลาสติกหรือแม้แต่เศษวัสดุที่เป็นแผ่นถากออกมาจากเขาสัตว์หรือกระดองเต่า
6.กลองอีสาน เป็นเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ หรือคุมจังหวะ โดยกลองที่จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน บัจจุบันนิยมใช้กลองชุดแทน เพราะเล่นได้หลายหลายแนวเพลง แต่ยังคงอนุรักษ์จังหวะเพลงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี
ชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.Ponglang.com
www.Srikhottaboon.com
www.facebook.com/ponglanginter
www.facebook.com/Paknampin